วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

การผสมเทียมในหลอดแก้วแล้วถ่ายฝากตัวอ่อน

การทำเด็กหลอดแก้วเป็นภาษาที่พูดกันทั่วไป  มีหมายความถึงกระบวนการกระตุ้นไข่ในรังไข่ให้เจริญเติบโตครั้งละหลายๆฟอง แล้วเจาะดูดเอาออกมาผสมกับอสุจิที่เตรียมไว้ให้เกิดการปฏิสนธิในหลอดแก้ว หรือในห้องทดลอง  เมื่อมีการแบ่งตัวของตัวอ่อนในระยะเหมาะสมก็นำกลับใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของ แม่  เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์และเจริญคลอดออกมาเป็นทารกต่อไป
การทำเด็กหลอดแก้ว เรามักทำเป็นขั้นตอนท้าย ๆ ของกระบวนการช่วยการมีบุตรยาก  หลังจากที่รักษาโดยวิธีง่าย  ๆ อย่างอื่นแล้วไม่ตั้งครรภ์  ได้แก่  การกระตุ้นการตกไข่  การผสมในโพรงมดลูก  และการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ ฯลฯ เพราะการทำเด็กหลอดแก้วเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ สถานที่ และบุคคลากรที่มากกว่าและมีความจำเพาะต่องานมากกว่าธรรมดา จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายมากกว่าและอาจมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่าด้วย
การทำเด็กหลอดแก้วในคนประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว  และมีการแตกแขนงออกไปทำ GIFT, CIFT และ ICSI

ประโยชน์การทำเด็กหลอดแก้ว คือช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสตั้งครรภ์มีบุตรได้
การทำเด็กหลอดแก้ว
การทำเด็กหลอดแก้ว
ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว
หลังจากประเมินแล้วว่าฝ่ายชายสามารถผลิตอสุจิได้ ฝ่ายหญิงมีรังไข่ที่ยังทำงานผลิตไข่ได้มีมดลูกที่ตั้งครรภ์ได้และสุขภาพไม่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์แล้ว
มีขั้นตอนดังนี้
กระตุ้น รังไข่  เพื่อให้ไข่ในรังไข่เจริญคราวละหลาย ๆ ฟอง  (ตามธรรมชาติ จะมีการเจริญขึ้นคราวละฟองเดียว — เมื่อกระต้นให้ได้ไข่หลาย ๆ ฟองก็สามารถทำปฏิสนธิให้เกิดตัวอ่อนได้หลายตัวอ่อนในคราวเดียวกัน  และสามารถใส่ตัวอ่อนในโพรงมดลูกได้คราวละมากกว่า 1 ตัวอ่อน  เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และเก็บแช่แข็งตัวอ่อนที่เหลือไว้ใช้ต่อได้ด้วย)
ยาที่ใช้ในการ กระตุ้นรังไข่มีหลายตัว  แล้วแต่แพทย์จะเลือกใช้ ในช่วงเวลาและจุดประสงค์จำเพาะที่แตกต่างกัน ได้แก่ Enantone, Cetrotide, Pergonal, Gonal-F, Pregnyl, Ovidel
หลักการคือพยายามกระตุ้นไข่ ให้เจริญเติบโตคราวละหลาย  ๆ ฟอง  และในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนของรังไข่ตอบสนองผิดปกติ หรือ มีการตกไข่ก่อนเวลาอันควร (เราต้องการกำหนดเวลาที่ไข่ควรจะตก  เพื่อจะได้เจาะดูดเอาไข่ออกมาก่อนที่มันจะตกหายไปในช่องท้อง)  ต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome – OHSS)   และระวังอาการจากการแพ้ยา
มี หลายเหตุการณ์ที่การกระตุ้นรังไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้วต้องหยุดกลางคัน  และยกเลิกในรอบนั้น ๆ เช่น รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (ฮอร์โมนขึ้นมากเกิน) หรือ น้อยเกินไป (ได้ไข่เพียง 1-2 ฟอง) เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย  หรือเพื่อไม่ให้เกิดความไม่คุ้มค่า  จำเป็นต้องหยุดยาฉีด  และไม่มีการเจาะไข่เกิดขึ้น
สิ่งที่ใช้ เป็นเครื่องชี้วัดความพอดี  คือ จำนวนไข่ที่ถูกกระตุ้นขึ้นมา  และระดับฮอร์โมนที่สูงในเลือด ขณะไข่หลายฟองกำลังเจริญเติบโต  นั่นคือ  ท่านจะได้รับการทำอัลตราซาวนด์และการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเป็นระยะ ๆ  ( ฮอร์โมนเอสโตรเจน)  และคอยดูผลข้างเคียงของยาที่ให้  ที่อาจเกิดขึ้นได้แก่  น้ำหนักขึ้น  บวมน้ำ  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  ปวดท้องน้อย  เจ็บคัดเต้านม  อารมณ์แปรปรวน  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  เป็นต้น
อาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป การเกิดอาการนี้จะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงมากเกินไปร่วมกับมีการฉีด HCG เพื่อทำให้ไข่ตกเกิดขึ้น  ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนคือ
  1. มีการคั่งของน้ำในร่างกาย  และรั่วเข้ามาในช่องท้อง อาจรั่วเข้ามาในช่องปอดด้วย  ทำให้อึดอัดท้องและหายใจลำบาก
  2. น้ำไหลออกจากเส้นเลือด  ทำให้เลือดข้นเกินไป  การไหลเวียนไม่ดี  ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือด  เกิดภาวะอุดตันและก้อนเลือดอาจหลุดไปอุดที่ปอดหรือที่สมองได้  อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต  หรือพิการ
  3. รังไข่โตเกินขนาดทำให้มีโอกาสถุงรังไข่แตกหรือมีการปิดที่รังไข่ได้ (ทำให้ต้องผ่าตัดฉุกเฉิน) อาการทั้ง 3 อย่างนี้  อาจจะต้องทำให้คนไข้อยู่โรงพยาบาลเพื่อรักษาตัวนานขึ้น
เพื่อ คอยเฝ้าระวังไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวข้างต้น  จึงต้องมีการตรวจและเฝ้าระวัง  คือ การเจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและทำอัลตราซาวนด์รังไข่บ่อย ๆ การตรวจทั้ง 2 อย่างนี้นอกจากจะระวังเรื่องรังไข่ตอบสนองมากเกินไปแล้ว  ยังช่วยบอกจำนวนและขนาดของรังไข่ที่ถูกกระตุ้น  และระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้ยาทำให้ไข่สุก  และเวลาในการเจาะไข่ด้วย  การเจาะเลือดบางทีก็ตรวจระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและ LH ด้วย (ระยะการกระตุ้นไข่จะอยู่ประมาณ 7 – 12 วัน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น