วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะทางพันธุกรรมที่นอกเหนือกฎเมลเดล

การข่มร่วมกัน (Co-Dominant)

Co-dominant : การถ่ายทอดนี้ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล ยีนทั้งสองที่ควบคุมลักษณะจะไม่ข่มซึ่งกันและกันแต่สามารถแสดงความเด่นได้ เท่าๆกันจึงปรากฏลักษณะออกมาร่วมกัน เช่น
  1. การถ่ายทอดลักษณะหมู่เลือดระบบ ABO ถูกควบคุมด้วยยีนซึ่งมีอัลลีลเกี่ยวข้อง 3 อัลลีล คือ IA , IB, i พบว่าอัลลีล IA และอัลลีล IB ต่างก็แสดงลักษณะเด่นเท่าๆกัน (อัลลีล IA และอัลลีล IB ต่างก็เป็น Co – dominant allele ส่วนอัลลีล i เป็น recessive allele)
    • IAIA และ IA i แสดง หมู่เลือด A
    • IBIและ IB i แสดง หมู่เลือด B
    • IAIB แสดง หมู่เลือด AB
    • ii แสดง หมู่เลือด O
    การถ่ายทอดหมู่เลือดของคน
    การถ่ายทอดหมู่เลือดของคน
  2. การถ่ายทอดลักษณะหมู่เลือดระบบ MN มียีนควบคุมอยู่ 1 คู่ โดยมี Co – dominant allele M และ N (LM , LN) ควบคุมการสร้าง antigen M และ antigen N ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงทั้ง LM และ LN แสดงลักษณะเด่นได้เท่าๆ กัน
    • LM LM แสดงหมู่เลือด M
    • LN LN แสดงหมู่เลือด N
    • LMLN แสดงหมู่เลือด MN
    การถ่ายทอดลักษณะเด่นเกิน (Over – dominant) เกิดจากอัลลีลในสภาพ Heterozygous จะแสดงลักษณะที่ปรากฏออกมา (phenotype) เหนือกว่าในสภาพHozygous เช่น TT (สูง 3 ฟุต ) x tt (สูง 1 ฟุต) ได้ลูกผสม Tt (สูง 5 ฟุต)
เลือดระบบ MN
เลือดระบบ MN

การข่มแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete Dominant)

Incomplete dominant คือ การแสดงออกของ gene ที่เป็น gene เด่นไม่สามารถข่ม gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มีการแสดงออกของ gene ทั้งสองแบบเป็นผสมกันหรือเป็นแบบกลาง ๆ ระหว่างสองลักษณะ เช่น สีดอกลิ้นมังกร
ดอกลิ้นมังกร
ดอกลิ้นมังกร
การหาอัตราส่วนของฟีโนไทป์และจีโนไทป์
การผสมระหว่างดอกลิ้นมังกรสีแดงกับสีขาว
การผสมระหว่างดอกลิ้นมังกรสีแดงกับสีขาว
**จะได้ว่า Genotype = Phenotype**

Multiple alleles

Multiple alleles : ลักษณะทางพันธุกรรม ที่ถูกควบคุมด้วยยีนมากกว่า2 อัลลีลส์ ได้แก่ หมู่เลือด ABO ซึ่งมียีนควบคุมถึง 3 อัลลีลส์ ( IA , IB และ i )
ยีนควบคุม 3 อัลลีลส์
ยีนควบคุม 3 อัลลีลส์

ตัวอย่าง

หมู่เลือด ABO ถูกควบคุมด้วยอัลลีลส์ IA , IB และ i

จงหาชนิดและอัตราส่วนฟีโนไทป์ของลูกที่เกิดจากพ่อและแม่ที่มีจีโนไทป์ดังต่อไปนี้
  1. IAi     x    IB IBเฉลย IA IB :  IB i
    = 1    :    1
    ดังนั้นลูกที่ได้จะเป็น       AB : B
    =  1  :  1
  2. IAi      x     iiเฉลย IAi ii 
    = 1    :    1
    ดังนั้นลูกที่ได้จะเป็น      A : O
    =  1  :  1

Multiple gene

Multiple gene (Polygenes) : การที่ยีนหลายคู่ร่วมกันควบคุมลักษณะที่แสดง
ออกมา เช่น ผิวดำ (อัลลีลที่ควบคุมการสร้างเมลานิน ) โดยสีผิวดำถูกควบคุมด้วยยีนเด่น 3 อัลลีลส์ คือ A, B,C ส่วน อัลลีล a, b, c แสดงการไม่สร้างเม็ดสีและปฏิกิกริยาของยีนเป็นแบบincomplete dominance
สีของเมล็ดข้าว สาลี ซึ่งเกิดจาก ลักษณะทาง พันธุกรรมที่ ถ่ายทอดผ่าน ทาง polygene
สีของเมล็ดข้าว สาลี ซึ่งเกิดจาก ลักษณะทาง พันธุกรรมที่ ถ่ายทอดผ่าน ทาง polygene
สีของเมล็ดข้าวสาลี ซึ่งมียีนควบคุม 3 คู่ คือ R1  R2  R3  เป็นยีนที่ทำให้เมล็ข้าวสาลีมีสีแดง ส่วนอัลลีลของยีนเหล่านี้คือ r1  r2  r3  เป็นยีนที่ทำให้เมล็ดข้าวสาลีไม่มีสี ถ้าจีโนไทป์มียีนควบคุมสีแดงจำนวนมาก สีของเมล็ดจะเข้ม

กราฟแสดงลักษณะทางพันธุกรรม

กราฟแสดงลักษณะทางพันธุกรรม ของข้าวสาลี
กราฟแสดงลักษณะทางพันธุกรรม ของข้าวสาลี

Complementary Gene

complementary gene : เป็นยีนที่ทำงานร่วมกันแบบเสริมสร้างซึ่งกันและกัน เช่น ลักษณะสีของดอกในถั่วชนิดหนึ่งถูกควบคุมด้วยยีน 2 คู่ ถ้ามีคู่ยีนสำหรับลักษณะเด่นของยีนทั้งสองคู่ปรากฎอยู่ในจีโนไทป์ ลักษณะที่ปรากฎทางฟีโนไทป์ คือ ดอกสีม่วง แต่ถ้าขาดคู่จีนเด่นตัวใดตัวหนึ่งไป ลักษณะที่ปรากฎทางฟีโนไทป์จะเป็นดอกสีขาว ตามแผนภาพดังนี้
แผนภาพแสดงลักษณะที่ปรากฎ
แผนภาพแสดงลักษณะที่ปรากฎ
จากแผนภาพนี้จะเห็นได้ว่า คู่จีน C และคู่จีน P ต่างทำงานร่วมกัน ในการปรากฎของดอกสีม่วงและแต่ละคู่จีน ไม่สามารถทำงานโดยอิสระได้ อัตราส่วนของฟีโนไทป์จะได้ ดอกสีม่วง : ดอกสีขาว = 9 : 7

Epistasis

Epistasis คือ การเกิดปฏิกิริยาร่วมระหว่างยีนที่อยู่คนละตำแหน่ง (locus) ซึ่งมีผลให้ยีนจากตำแหน่งหนึ่งไปเปลี่ยนแปลงอิทธิพลของยีน ณ อีกตำแหน่งหนึ่งได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างยีนจาก 2 ตำแหน่งหรือมากกว่าก็ได้ ที่ควบคุมลักษณะปรากฎ (phenotype) เดียวกัน ยีนที่ข่มตัวอื่นเรียกว่า epistatic gene ส่วนยีนที่ถูกข่ม เรียกว่า“hypostatic gene”

ประเภทของ Epistasis

  1. Complementary epistasis : ต้องการผลิตผลที่สร้างจากยีนทั้งสองตำแหน่งเพื่อการแสดง phenotype เช่น หงอนไก่
    Complementary epistasis
    Complementary epistasis
  2. Recessive epistasis : ควบคุมด้วยยีน 2 คู่ โดย homozygous recessive ของยีนตำแหน่งหนึ่ง สามารถข่มการแสดงออกของยีนอีกตำแหน่งหนึ่งได้ เช่น สีขนแมว
    Recessive epistasis
    Recessive epistasis
  3. Dominant epistasis : ควบคุมด้วยยีน 2 คู่ โดย dominance allele ของตำแหน่งหนึ่ง สามารถข่มการแสดงออกของยีนอีกตำแหน่งหนึ่งได้ เช่น สีขนแกะ
    Dominant epistasis
    Dominant epistasis
  4. Duplicate recessive epistasis : ยีนทั้ง 2 ตำแหน่ง ทำให้เกิด phenotype ที่เหมือนกัน แต่ homozygous recessive genotype ของยีนตำแหน่งหนึ่ง สามารถข่มการแสดงออกของยีนอีกตำแหน่งหนึ่งได้เช่นเดียวกันกับ recessive epistasis ทั่วไป เช่น ยีนที่ควบคุมลักษณะขนกำมะหยี่ของกระต่าย
  5. Duplicate dominant epistasis : ยีนทั้ง 2 ตำแหน่ง ทำให้เกิด phenotype ที่เหมือนกัน แต่ dominant allele ของตำแหน่งหนึ่ง สามารถข่มการแสดงออกของยีนอีกตำแหน่งหนึ่งได้เช่นเดียวกันกับ dominant epistasis ทั่วไป เช่น ยีนที่ควบคุมลักษณะหน้าสีขาวแบบ Simmental และ แบบ Hereford
    Hereford
    Hereford
    Simmental
    Simmental

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น