วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การใส่ยาโปรเจสเตอโรนที่ช่องคลอด  อาจมีอาการข้างเคียง ดังนี้
  1. ช่องคลอดแห้ง
  2. ท้องอืด
  3. อาการหดหู่  อารมณ์แปรปรวน
  4. ประจำเดือนอาจมาช้าไปบ้าง

เปอร์เซ็นต์ การตั้งครรภ์ในแต่ละครั้งแปรตามจำนวนตัวอ่อนที่ใส่เข้าไป  แต่ถ้าใส่มากเกินก็เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์แฝดที่มีเด็กมากเกิน  ซึ่งเสี่ยงต่อการแท้ง  การคลอดก่อนกำหนด ฯลฯ (ดูเรื่องครรภ์แฝด) และค่าใช้จ่ายที่อาจจะต้องนอนโรงพยาบาลนานก่อนคลอด  เด็กได้รับการบริบาลนานและนอนโรงพยาบาลนานเพราะคลอดก่อนกำหนด  และความยากลำบากในการเลี้ยงลูกคราวเดียวหลายคน
นอกจากนี้เมื่อตั้ง ครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วแล้วก็มีโอกาสแท้งเหมือนกับการตั้งครรภ์โดย ธรรมชาติ  มีโอกาสท้องทั้งในและนอกมดลูก (ถ้าเป็นท้องนอกมดลูกก็จำเป็นต้องรักษาโดยการส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง เพื่อรักษา)
ในกรณีที่มีตัวอ่อนเหลือแต่ละครั้ง  คนไข้อาจจะเลือกตัดสินใจว่า
  1. แช่แข็งไว้ใส่ครั้งต่อไป
  2. บริจาค ให้คนอื่นที่ต้องการตัวอ่อน ( ซึ่งตามหลักการเราจะไม่ให้รู้ว่าให้กับใครและไม่ให้คนได้ตัวอ่อนทราบด้วยว่า ได้จากใครเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดในภายหลัง)
  3. ปล่อยให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตในห้องทดลองจนหยุดการแบ่งตัวและสลายไปเอง
ข้อพิจารณาสำหรับคู่สมรสที่ต้องการทำเด็กหลอดแก้วขบวน การทำเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์  รวมถึงการทำเด็กหลอดแก้ว  อาจจะทำให้เกิดปัญหาทางจิตวิทยา เช่น ความเครียด  ความกังวล  ความผิดหวัง  เสียใจได้  หดหู่ท้อถอย ขาดความมั่นใจในตัวเองและผลของการทำจนสำเร็จสมใจนั้นมากที่สุดไม่เกิน 50%  ในแต่ละครั้ง  จึงต้องทำใจไว้ก่อน  และถ้าไม่มั่นใจในตัวเองอาจให้แพทย์แนะนำจิตแพทย์ให้ก่อนได้
นอกจากนี้ระหว่างขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว  สตรีที่ทำต้องให้เวลาในการพบแพทย์เพื่อตรวจตามนัดทุกครั้ง  ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-6 สัปดาห์  แล้วแต่ว่าจะทำแบบใด  ฝ่ายชายต้องช่วยสนับสนุนและต้องพร้อมที่จะมานำน้ำเชื้ออสุจิออกมาเมื่อถึง เวลาเจาะดูดไข่  และทำการปฎิสนธิด้วย
การทำเด็กหลอดแก้วแต่ละครั้ง อาจมีเหตุต้องล้มเลิกกลางคันแล้วเริ่มต้นใหม่ภายหลัง ไม่มีการรับประกันการตั้งครรภ์และการได้บุตร  มีเหตุผลมากมายทั้งที่อธิบายได้และอธิบายไม่ได้ที่ทำให้ไม่ตั้งครรภ์  ที่พอจะอธิบายได้  มีดังนี้
  1. ไม่ได้ไข่ที่ต้องการ เนื่องจาก- กระตุ้นไข่แล้วถุงไข่ไม่เจริญ  โตตามที่ต้องการ
    - มีการตกไข่ (ไข่ตก) ก่อนถึงเวลาเจาะไข่
    - ถุงไข่บางถุงเจาะดูดแล้วไม่ได้ไข่ออกมา
    - มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานซึ่งยากที่จะเจาะไข่อย่างปลอดภัยได้
  2. ไข่ที่ดูดออกมาได้อาจไม่ปกติ
  3. มีปัญหาในการเอาอสุจิมาปฏิสนธิกับไข่  ได้แก่- ถึงเวลาแล้ว  ฝ่ายชายเอาเชื้ออสุจิออกมาไม่ได้
    - ได้เชื้ออสุจิน้อยเกินกว่าที่จะปฏิสนธิได้
    - ห้องปฏิบัติการมีความสามารถบางอย่างไม่พอ
    - กรณีขอเชื้ออสุจิบริจาคแล้ว  เมื่อถึงเวลาไม่ได้เชื้อมา
  4. ไม่มีการปฏิสนธิ  แม้ไข่และอสุจิจะตรวจแล้วว่าปกติ
  5. ตัวอ่อนไม่เจริญแบ่งตัวตามที่ควรจะเป็น
  6. การใส่ตัวอ่อนทำยาก  หรือใส่ไม่ได้  หรือ ใส่ได้แต่ไม่มีการเกาะที่เยื่อบุโพรงมดลูก  หรือไม่มีการเกาะ  แต่ไม่เจริญ ต่อไป
  7. ขั้นตอนต่าง ของ การทำเด็กหลอดแก้ว  ประสบปัญหาที่ไม่ได้คิดมาก่อน  เช่น ความแปรปรวนสิ่งแวดล้อม เครื่องมือเสีย  สภาพห้องปฏิบัติการผิดปกติ
  8. มีการไม่สบายของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  9. ความผิดพลาดของปุถุชน ฯลฯ
เมื่อ มีการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้ว  ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการตั้งครรภ์ธรรมชาติ  ได้แก่  การตั้งครรภ์แล้วเด็กไม่เจริญเติบโต  การแท้ง  การท้องนอกมดลูก  การคลอดก่อนกำหนด  การพิการแต่กำเนิด  และความผิดปกติทางยีนส์ของเด็กที่เกิดมา  แต่ที่แตกต่างคือ  มีอัตราการตั้งครรภ์แฝดมากกว่าธรรมชาติ  ทำให้มีโรคที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์แฝดมากกว่า  คือ  ครรภ์เป็นพิษ  การแท้ง  การคลอดก่อนกำหนด  การตายคลอด เป็นต้น
สรุปการ ทำเด็กหลอดแก้วเป็นกระบวนการสุดท้ายที่การรักษาโดยวิธีธรรมดาที่ง่ายกว่า แล้วไม่ตั้งครรภ์  ซึ่งได้แก่  การคะเนการตกไข่และมีเพศสัมพันธุ์  การกระตุ้นการตกไข่  การผ่าตัดแก้ไขอวัยวะที่ผิดปกติ  การผสมเทียมโดยการฉีดเชื้อ  เป็นต้น  ซึ่งสาเหตุของการมีบุตรยากมีมากมาย  และมีความรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์ของแต่ละคนแตกต่างกัน มีขบวนการที่แตกแขนงออกไปเช่น การทำ ICSI CIFT GIFT TESE ฯลฯ
ถึง กระนั้นการทำเด็กหลอดแก้วก็ไม่ใช่จะได้ผลสำเร็จเป็นส่วนใหญ่  จะต้องอาศัยความร่วมมือและความอดทนสูงของคู่สมรสด้วย  แต่เมื่อตั้งครรภ์แล้วโอกาสปกติและผิดปกติของเด็กเหมือนกับการตั้งครรภ์ตาม ธรรมชาติ  ยกเว้นที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วจะมี มากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น