วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555


วิเคราะห์ DNA และจีโนม

การศึกษาจีโนม

  1. ศึกษาความแตกต่างของจีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน สามารถ
    ตรวจสอบโดยอาศัยการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ
  2. แล้วนำชิ้น DNA ไปแยกขนาดโดยวิธีการ เจลอิเล็กโทรโฟริซิส ได้รูปแบบ
    ของแถบ DNA ที่แตกต่างกัน
  3. รูปแบบของแถบ DNA ดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงถึง จีโนมและลักษณะ
    บางฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตนั้นได้
     เรียกความแตกต่างของรูปแบบของแถบ DNA ที่เกิดจากการตัดของ
เอนไซม์ตัดจำเพาะเหล่านี้ว่า เรสทริกชัน แฟรกเมนท์ เลจท์
พอลิมอร์ฟิซึม (restriction fragmentlength polymorphism : RFLP)

ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรม (genetic marker) ได้
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 ได้มีการริเริ่มโครงการ จีโนมมนุษย์ (Human
Genome Project) เพื่อที่จะศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของมนุษย์ทั้งจีโนม
โครงการนี้เป็นโครงการนานาชาติ
  1. โดยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ
    • ออโทโซม 22 โครโมโซม
    • โครโมโซม X และโครโมโซม Y
  2. มีการศึกษา
    • แผนที่ยีน
    • แผนที่เครื่องหมายทางพันธุกรรมควบคู่กันไป
  3. นำไปสู่การพัฒนาในเชิงเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้อย่างมากมายใน
    ปัจจุบัน
นอกจากมนุษย์แล้ว ยังมีโครงการศึกษาจีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ที่
มีความสำคัญในการศึกษาในเชิงชีววิทยา เช่น
  • จีโนมของ E. coli
  • จีโนมของ ยีสต์
  • จีโนมของ หนู
ปัจจุบันการศึกษาจีโนมของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญดำเนินไปมากกว่าร้อยละ 99
แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถ
  • ทราบคำตอบมากมายเกี่ยวกับโครงสร้างของจีโนม
  • ควบคุมการแสดงออกของยีนต่างๆส่งผลถึงการเจริญเติบโตและพัฒนา
    ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น